ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยือน...

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมไหว้ครูประจำปี


พิธีไหว้ครูประจำปี
พิธีไหว้ครู        เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง และนับเป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์ ที่ประสิทธ์ประสาทวิชาเรามา ทั้งจรรยามารยาทและศิลปวิทยา   


คำกล่าวไหว้ครู
ปาเจรา จริยา โหนติ คุณุตตรา นุสาสกา )
ข้าขอประณตน้อมสักการ     บูรพคณาจารย์
ผู้กอปรระโยชน์ศึกษา        ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา
อบรมจริยา                             แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์              ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา                    อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน          ศึกษาสำเร็จทุกประการ
อายุยืนนาน                           อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี         ประโยชน์ทวี
แก่ข้าและประเทศไทย เทอญ 
(ปัญญา วุฑฒิ กเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหํ)
คำปฏิญาณตน

·       เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
·       เรานักเรียนจักต้องประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน  มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
·       เรานักเรียนจักต้องปฏิบัติตน ไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น

·       วัตถุประสงค์ของการไหว้ครู
๑.      เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
๒.     เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฏศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
๓.      เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
๔.      เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
๕.      เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
·       ประโยชน์ของการไหว้ครู
๑.      สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
๒.     สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
๓.      เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
๔.     ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
๕.     เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย
     โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน
·       ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู
ในพิธีไหว้ครู นับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3อย่างในการทำพาน ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่
·       หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์
ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม

·       ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก แสดงถึง นักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลง

·       ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกันจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้ ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

 วิธีจัดงาน 
การพิธีไหว้ครู ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ จะต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
·       พานดอกไม้ มีดอกไม้ หญ้าแพรก (หมายถึง การเจริญงอกงามของสติปัญญา)
·       ดอกมะเขือ (หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (หมายถึง เฉลียวฉลาด) จัดให้สวยงาม
·       ธูปเทียน

พิธีการ
·       เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน
·       ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา
·       เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล
·       หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู
·       เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย
·       ตัวแทนนักเรียนกล่าวคำปฏิญาณตน
·       ให้ตัวแทนของแต่ละห้องนำพานไปให้คุณครูแต่ละท่าน
 กิจกรรม : ให้นักเรียนเขียนเรียงความ "ครูดีในดวงใจ"






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กล่องถูกใจ

ข่าวจาก เว็บครูบ้านนอกดอทคอม